[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
 หน้าหลัก    ข่าวประชาสัมพันธ์    ภาพกิจกรรม    คลังความรู้    แบบฟอร์ม     สมัครสมาชิก     เข้าระบบ  

 

สภาพปัจจุบันของสถานศึกษา

          โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ( Takrearwittayakom School ) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลตะเครียะ สังกัดกองการมัธยมศึกษากรมสามัญศึกษา(เดิม) กระทรวงศึกษาธิการ  ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล  ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อ 1 มิถุนายน 2519 ปีการศึกษา 2519  โดยจัดตั้งแบบสหศึกษาได้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และได้เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2539 โดยเปิดทำการสอนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  จำนวน 1  ห้องเรียน และเปิดทำการสอนสายวิชาภาษาไทย สังคม ในปีการศึกษา 2546  จำนวน  1  ห้องเรียน

โรงเรียนตะเครียะวิทยาคมตั้งอยู่  ณ เลขที่  260  หมู่ที่ 5 ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด  จังหวัดสงขลา  มีพื้นที่ทั้งหมด  51 ไร่ 2 งาน 83  ตารางวา  ซึ่งเป็นที่ดินบริจาคทั้งหมดตั้งอยู่ห่างจากอำเภอระโนด  ประมาณ  15  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดสงขลา  ประมาณ  108  กิโลเมตร  มีอาณาเขต  ดังนี้

  ทิศเหนือ          จดโรงเรียนบ้านดอกแบก

                   ทิศตะวันออก     จดถนน  ร.พ.ช.   และที่ดินเอกชน

                   ทิศใต้              จดที่นาเอกชน

                   ทิศตะวันตก      จดที่นาเอกชน

ราษฎรผู้บริจาคที่ดินให้กระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์โรงเรียนตะเครียะวิทยาคมดังมีรายนามต่อไปนี้

1.      นายครื้น     ชุมทอง           จำนวน  6  ไร่  2  งาน  20  ตารางวา

2.      นายตั้น      พรหมเทพ        จำนวน  12  ไร่  2  งาน  35  ตารางวา

3.      นายทะนง   ชุมทอง           จำนวน  12  ไร่  3  งาน  60  ตารางวา

4.      นางแช่ม     เจริญศรี          จำนวน    5  ไร่  3  งาน  35  ตารางวา

5.      ราษฎรรวบรวมเงินซื้อบริจาค  จำนวน    8   ไร่  3  งาน  35  ตารางวา

6.      ราษฎรรวบรวมเงินซื้อบริจาค  จำนวน    6   ไร่  -  งาน    1  ตารางวา

การคมนาคมตอนเปิดทำการสอนใหม่ยังไม่สะดวก  เพราะเป็นถนนดิน ในฤดูฝนใช้สัญจรเกือบไม่ได้ต้องใช้การสัญจรทางเรือตามลำคลองตะเครียะ ต่อมาในปี 2525 ถนนได้รับการปรับปรุงให้เป็นถนนลูกรัง  แต่ยังขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ  มีน้ำท่วมขังให้เห็นเมื่อฝนตก  การสัญจรไปมายังคงลำบาก ต่อมาเมื่อมี ร.พ.ช ตัดถนนผ่านหน้าโรงเรียน  คันตูน้ำของชลประทานได้รับการปรับปรุงสามารถใช้สัญจรดีขึ้น  

ปัจจุบันการคมนาคมสะดวกมากขึ้น